ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏอยู่ในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม 2551 และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

(Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย

- การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ

- สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก

- หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน

- ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี

- การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง

- ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก

          นอกจากหลักการข้างต้นแล้ว ตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงก่อนที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้               อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบาย มาโดยตลอด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใดๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศ จะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้นๆ ก่อน      

                             การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก ‘ฉันทามติ” และ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน’ หรือที่ผู้สังเกตการณ์อาเซียนเรียกว่า ‘วิถีทางของอาเซียน’ (ASEAN’s Way)ในทางหนึ่งนั้น ก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัย ที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจ มีความ ‘สะดวกใจ’ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิก และดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง“ฉันทามติและ “การไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน”ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวน การรวมตัวกันของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ ของอาเซียน ล้มเหลว ในการจัดการกับปัญหา ของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดถือฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจ ของอาเซียน ได้เริ่มมี ความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2551  เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้

 

กลับหน้าหลัก